วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คำอธิบายรายวิชา


คำอธิบายรายวิชา

ศ31102  ดนตรี และนาฏศิลป์                                                                                                  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  ภาคเรียนที่ 2            เวลา  20  ชั่วโมง                                                              จำนวน  0.5  หน่วยกิต    
......................................................................................................................................................................................................................
          ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบของบทเพลงและวงดนตรีแต่ละประเภททั้งไทยและสากล อธิบายความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทย และสากลในอัตราจังหวะต่าง ๆ ร้องเพลงหรือเล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวง โดยเน้นเทคนิคการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง สร้างเกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพการประพันธ์และการเล่นดนตรีของตนเองและผู้อื่น การนำดนตรีไปประยุกต์ในงานอื่น ๆ วิเคราะห์สถานะทางสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ เปรียบเทียบลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ อธิบายบทบาทของดนตรีในการสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม การส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีในฐานะมรดกของชาติ
          ศึกษาทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบการสร้างสรรค์ละครสั้น การใช้ความคิดริเริ่มในการแสดงนาฏศิลป์เป็นหมู่คณะ การวิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์และการละคร การวิเคราะห์แก่นของการแสดงนาฏศิลป์และการละครที่ต้องการสื่อความหมายในการแสดง บรรยายและวิเคราะห์อิทธิพลของเครื่องแต่งกาย แสง สี เสียง ฉาก อุปกรณ์และสถานที่ที่มีผลต่อการแสดง บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์และการละครของประเทศไทยในยุคสมัยต่าง ๆ และวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
          กิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนสังเกตภาพ ศึกษาใบความรู้ โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์จำแนกประเภท อธิบาย เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง การสรุปความรู้ และการจัดระบบความคิดเป็นแผนภาพ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจ สร้างและนำเสนอผลงานด้านดนตรีและนาฏศิลป์ ให้ได้ผลตามที่ต้องการสามารถสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจความคิด ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจความไพเราะงดงามของดนตรี และนาฏศิลป์ บรรยายและอธิบายเกี่ยวกับดนตรีและนาฏศิลป์ได้สัมพันธ์และเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
          เห็นความสำคัญและคุณค่าของดนตรี นาฏศิลป์ และนำความรู้ด้านดนตรี นาฏศิลป์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และประกอบการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ตลอดจนสร้างสรรค์งานดนตรี และนาฏศิลป์ เชื่อมั่น ภาคภูมิใจในการแสดงออก รับผิดชอบ มุ่งมั่นในการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น เห็นคุณค่าของดนตรี และนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกและเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

รหัสตัวชี้วัด
          ศ 2.1 ม.4-6/1, ม.4-6/2, ม.4-6/3, ม.4-6/4, ม.4-6/5, ม.4-6/6, ม.4-6/8
          ศ 2.2 ม.4-6/2, ม.4-6/3, ม.4-6/4, ม.4-6/5
          3.1 .4-6/1, .4-6/3, .4-6/4, .4-6/5, .4-6/6
          3.2 .4-6/2, .4-6/3
รวมทั้งหมด 18 ตัวชี้วัด
 
ตัวชี้วัด
สาระที่ 2  ดนตรี
มาตรฐาน ศ 2.1 เข้าใจและแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่าดนตรี ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่อดนตรีอย่างอิสระชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          .4-6/1  เปรียบเทียบรูปแบบของบทเพลงและวงดนตรีแต่ละประเภท
          .4-6/2  จำแนกประเภทและรูปแบบของวงดนตรีทั้งไทยและสากล
          .4-6/3  อธิบายเหตุผลที่คนต่างวัฒนธรรมสร้างสรรค์งานดนตรีแตกต่างกัน
          .4-6/4  อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากลในอัตราจังหวะต่าง ๆ
          .4-6/5  ร้องเพลง หรือเล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวงโดยเน้นเทคนิคการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง
          .4-6/6  สร้างเกณฑ์สำหรับประเมินคุณภาพการประพันธ์และการเล่นดนตรีของตนเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
          .4-6/8  นำดนตรีไปประยุกต์ใช้ในงานอื่น ๆ
มาตรฐาน ศ 2.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
          ม.4-6/2  วิเคราะห์สถานะทางสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ
          ม.4-6/3  เปรียบเทียบลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ
          ม.4-6/4  อธิบายบทบาทของดนตรีในการสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม
          ม.4-6/5  นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีในฐานะมรดกของชาติ
สาระที่ 3: นาฏศิลป์
ศ 3.1  เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่านาฏศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึกความคิดอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
          ม.4-6/1  มีทักษะในการแสดงหลากหลายรูปแบบ
          .4-6/3  ใช้ความคิดริเริ่มในการแสดงนาฏศิลป์เป็นคู่และหมู่
          .4-6/4  วิจารณ์การแสดงตามหลักนาฏศิลป์และการละคร
          .4-6/5  วิเคราะห์แก่นของการแสดงนาฏศิลป์ และการละครที่ต้องการสื่อความหมายในการแสดง
          .4-6/6  บรรยายและวิเคราะห์อิทธิพลของเครื่องแต่งกาย แสง สีเสียง ฉาก อุปกรณ์ และสถานที่ ที่มีผลต่อการแสดง
ศ 3.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปั­­ญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
          ม.4-6/2  อภิปรายบทบาทของบุคคลสำคั­ญในวงการนาฏศิลป์และการละครของประเทศไทย
ในยุคสมัยต่าง ๆ 
          ม.4-6/3  บรรยายวิวัฒนาการของนาฏศิลป์และการละครไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น